มารู้จักกับ สารเร่ง พด. ของกรมพัฒนาที่ดินกันเถอะ!!!!
เพื่อทำความรู้จักกับเจ้าสารเร่งชนิดนี้กันให้มากขึ้น ลองอ่านรายละเอียดต่อไปนี้
สารเร่ง พด.1 คือ กลุ่มจุลินทรีย์ ที่มีความสามารถสูงในการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เพื่อใช้ผลิตปุ๋ยหมักในช่วงระยะเวลาอันสั้น ประกอกด้วย เชื้อแบคทีเรีย แอคติโน มัยซีส และเชื้อรา
สารเร่ง พด.2 คือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากพืชและสัตว์ที่สด หรืออวบน้ำ ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน จะได้ของเหลวที่ประกอบด้วยกรดอินทรีย์และฮอร์โมน สามารถนำไปใข้ในรูปปุ๋ยอินทรีย์น้ำ เหมาะสำหรับพืชผักและไม้ผล
สารเร่ง พด.3 คือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นศัตรูกับเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคพืชในดินโดยมีความ สามารถในการป้องกัน หรือยับยั้งการเจริญของเชื้อที่ทำให้เกิดโรครากหรือโคนเน่า และเปลี่ยนสภาพธาตุอาหารพืชให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ ประกอบด้วย เชื้อไตรโคเดอร์มา และบาซิลลัส
สารเร่ง พด.4 คือ สารปรับปรุงบำรุงดินที่ได้จาการผสมวัสดุธรรมชาติเช่น ยิปซั่ม หินฟอสเฟต ปูนมาร์ล เปลือกกุ้ง เปลือกปู เป็นต้น นำมาใช้เพื่อปรับปรุงสมบัติของดินให้มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช และเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บกักธาตุอาหารพืช หรือยึดอายุของปุ๋ยและใช้ไนตีนได้นานยิ่งขึ้น
สารเร่ง พด.5 เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพ การหมักและย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากสัตว์ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจนเพื่อผลิต สารสำหรับกำจัดวัชพืช
สารเร่ง พด.6 เป็นเชื้อจุลินทรีย์มีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพ การหมักและย่อยสลายวัสุดเหลือใช้จากเศษอาหาร ใน สภาพที่ไม่มีออกซิเจนเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำสำหรับบำบัดน้ำเสีย
สารเร่ง พด.7 เป็นเชื้อจุลินทรีย์มีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการหมักและย่อยสลายวัส ุดเหลือใช้จากพืชสมุนไพรใน สภาพที่ไม่มีออกซิเจนเพื่อผลิตสารป้องกันศัตรูพืช
สารเร่ง พด.8 สำหรับผลิตเชื้อจุลินทรีย์และสารฟอสฟอรัสในดินที่ทำการเกษตรเป็นเวลานาน ขาดการปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุทำให้ดินเป็นกรดและเกิดปัญหาในการ ใช้ฟอสฟอรัสกับพืช
สารเร่ง พด.9 สำหรับผลิตเชื้อจุลินทรีย์เพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินเปรี้ยว น้อย ซึ่งเป็นดินกรดกำมะถันที่มีความรุนแรงของกรดน้อย (pH5)
สารเร่ง พด.10 เป็นสารสำหรับใช้ปรับปรุงดินทรายและดินเสื่อมโทรม ให้มีคุณสมบัติทั้งทางกายภาพและทางเคมีให้ดีขึ้น เหมาะสำหรับการปลูกพืช สาร พด.10 ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ดีขึ้น โดยไปเพิ่มความสามารถในการแลกเปลี่ยนธาตุประจุบวกของดิน ทำให้ดินดูดยึดธาตุอาหารไว้ให้พืชได้นำไปใช้ได้มากขึ้น